หลักภาษาไทย
อักขระวิธี ได้แก่
อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร
เสียงในภาษาไทย
มีอยู่ 3 อย่าง คือ
1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี ได้แก่
วรรณยุกต์
สระ
สระในภาษาไทย
ประกอบด้วยรูปสระ21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง
พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ
1. อักษรสูง
มี 11 ตัว คือ ข ข
ฉ ฐ ถ
ผ ฝ ศ
ษ ส ห
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
3.1
อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง
มี 14 ตัว คือ
ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ
ฒ ท ธ พ ภ
ฟ ฮ
3.2
อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน
มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ
น ม ย
ร ล ว
ฬ
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์
มี 4 รูป ได้แก่ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย
มี 5 เสียง
1. เสียงสามัญ
คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา
ทา เป็น ชน
2. เสียงเอก
ก่า ข่า ป่า
ดึก จมูก ตก หมด
3. เสียงโท
เช่น ก้า ค่า
ลาก พราก กลิ้ง
สร้าง
4. เสียงตรี
เช่น ก๊า ค้า
ม้า ช้าง โน้ต
มด
5. เสียงจัตวา
เช่น ก๋า ขา
หมา หลิว สวย
หาม ปิ๋ว จิ๋ว
คำเป็นคำตาย
คำเป็น
คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ
(สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา
เช่น กา กี
กื กู
คำตาย
คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ
(สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา
เช่น กะ กิ
กุ
คำสนธิ คือ
การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท
เช่น
ปิตุ
+ อิศ เป็น ปิตุเรศ
ธนู
+ อาคม เป็น ธันวาคม
มหา
+ อิสี เป็น มเหสี
คำสมาส คือ
การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี ความหมายคงเดิมก็มี
เช่น
ราช
+ โอรส เป็น ราชโอรส
สุธา
+ รส เป็น สุธารส
คช
+ สาร เป็น คชสาร
คำเป็น คือ
พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน
แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย คือ
พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก
กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
อักษรควบ
คือ พยัญชนะ
2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน
เช่น เพลา เขมา
อักษรควบแท้ คือ คำที่ควบ ร
ล ว
เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า
ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป
อักษรควบไม่แท้ คือ
อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว
ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร
หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น
เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
อักษรนำ คือ
พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน
บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น หนู
หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน
2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง
แต่พยัญชนะ 2 ตัว
นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น กนก
ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก
คำมูล คือ
คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น
ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด
คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง
เช่น
แม่
+ น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล
หาง
+ เสือ = หางเสือ
แปลว่า ที่บังคับเรือ
ลูก
+ น้ำ = ลูกน้ำ
พยางค์ คือ
ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้
พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ +
สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา
2. พยัญชนะ +
สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ +
ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์
3. พยัญชนะ
+ สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า “
ประสม 5 ส่วน ”
วลี คือ
กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค คือ
กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น
1. ประโยค
2 ส่วน ประธาน + กริยา
นก บิน
2. ประโยค
3 ส่วน ประธาน
+ กริยา
+ กรรม
ปลา กิน มด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น