ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก




ความเป็นมา

พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี
นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ

ประวัติผู้แต่ง

                    สำนักวัดถนน กัณฑ์ทานกัณฑ์
                   สำนักวัดสังข์กระจาย กัณฑ์ชูชก
                   พระเทพโมลี (กิ่น) กัณฑ์มหาพน
                   เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี

หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง 13 กัณฑ์  ตามลำดับ  ดังนี้
       กัณฑ์ที่ 1 ทศพรา  พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี  ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร  แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์  เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ 10 ประการ  ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง  ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร 10 ประการนั้นมีดังนี้
        1.  ขอให้เกิดในกรุงมัททราช  แคว้นสีพี
        2.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
        3.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
        4.  ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
        5.  ขอให้พระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
        6.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
        7.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
        8.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
        9.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
        10. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
          กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์  พระนางผุสดีจุติลงมาเป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ 16 ชันษา  จึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งสีวิรัฐนคร  ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า "เวสสันดร"  ในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉันททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงได้นำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมี ให้นามว่า "ปัจจัยนาค"  เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ 16 พรรษา  พระราชบิดาก็ยกราชสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี  พระราชธิดาราชวงศ์มัททราช  มีพระโอรสชื่อ  ชาลี  พระธิดาชื่อกัณหา  พระองค์ได้สร้างโรงทาน  บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ  ต่อมาพระจ้ากาลิงคะแห่งนครกลิงคราษฎร์  ได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาคเพื่อให้ฝนตกในบ้านเมืองที่แห้งแล้งกันดาร  พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคให้แก่พระเจ้ากาลิงคะ  ชาวกรุงสัญชัยไม่พอใจที่พระราชทานช้างคู่บ้านคู่เมืองไป  จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร
          กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์  พระเวสสันดรทรงมหาสัตตสดกทาน  คือ  การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี  ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร  จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตตสดกทาน  คือ  การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่  อันได้แก่  ช้าง  ม้า  รถ  โคนม  นารี  ทาสี  ทาสา  รวมทั้งสุราบาน  อย่างละ 700
          กัณฑ์ที่ 4 วนประเวศน์  เป็นกัณฑ์ที่สี่กษัตริย์เดินทางสู่เขาวงกต  เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับหน้าศาลาพระนคร  กษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิบัติ  กษัตริย์เจตราชจึงมอบหมายให้พรานเจตบุตรผู้มีความเชี่ยวชาญชำนาญป่าเป็นผู้รักษาประตูป่าไม้  กษัตริย์ทั้ง 4 พระองค์ปลอดภัย  และเมื่อเสด็จถึงเขาวงกตได้พบอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของพระอินทร์  กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนวชเป็นฤาษีพำนักในอาศรมสืบมา
          กัณฑ์ที่ 5 ชูชก  ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชกพำนักในบ้านทุนวิฐะเที่ยวขอทานตามเมืองต่าง ๆ เมื่อได้เงินถึง 100 กหาปณะ  จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมียแล้วออกเดินทางขอทานต่อไป  เมื่อเห็นว่าชูชกหายไปนานจึงได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัว  เมื่อชูชกเดินทางมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูกชก  นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี  ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาของตน  หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา  ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อมาเป็นทาสรับใช้  เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพรานเจตบุตรผู้รักษาประตูป่า
          กัณฑ์ที่ 6 จุลพน  พรานเจตบุตรหลงกลชูชก  ที่ได้ชูกลักพริกขิงให้พรานดู  อ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤาษี
          กัณฑ์ที่ 7 มหาพน  เมื่อถึงอาศรมได้พบกับอจุตฤาษี  ชูกชกใช้คารมหลอกล่อจนอจุตฤาษีให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร  พร้อมพรรณนาหมู่สัตว์และพรรณไม้ตามเส้นทางให้ชูชกฟัง
          กัณฑ์ที่ 8 กัณฑ์กุมาร  เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงให้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก  พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพราก  รุ่งเช้าเมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้ว  ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร  สองกุมารลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระ  พระเวสสันดรจึงเสด็จติดตามหาสองกุมารแล้วมอบให้แก่ชูชก
          กัณฑ์ที่ 9 กัณฑ์มัทรี  พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดนทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรสธิดาและพระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ  พระนางมัทรีจึงออกเที่ยวหาโอรสธิดาและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพรทัยลืมตนว่าเป็นดาบสจึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง  เมื่อพระนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษ  พระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสธิดาแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบกัน  พระนางมัทรีจึงได้ทรงอนุโมทนาในปิยบุตรทานนั้น
          กัณฑ์ที่ 10 สักรบรรพ  พระอินทร์เกรงว่าพระเวสสันดรจะประทานพระนางมัทรีให้แก่ผู้ที่มาขอ  จึงแปลเป็นพราหมณ์เพื่อมาทูลขอพระนางมัทรี  พระเวสสันดรจึงประทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณ  เป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  พระอินทร์ในร่างพราหมณ์จึงฝากพระนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  แล้วตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร 8 ประการ
          กัณฑ์ที่ 11 มหาราช  เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนเองปีนขึ้นไปนอนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมารจนเดินทางถึงกรุงสีพี  พระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายนั้นนำมายังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน  ต่อมาชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาดจนไม่ย่อย  พระชาลีจึงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครลิงคราษฏร์ได้คืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี
          กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์  พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง 4  เหล่า  ทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมจีนครสีพี  จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  และเมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมกษัตริย์ให้หายเศร้าโศกและฟื้นพระองค์
          กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์  พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  และเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว 7 ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ



      




นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)




ความเป็นมา

นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้แต่ง

พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส.ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส

ลักษณะคำประพันธ์

นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.

เนื้อเรื่อง

เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า  พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน
แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร
พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไมทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้นครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม  เวตาลทูลถามว่า
รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ
พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง
ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง
แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


อิเหนา 

ตอน ศึกกะหมังกุหนิง


แนวคิด

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

ความเป็นมา

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี  พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ประวัติผู้แต่ง

อิเหนาเป็นบทละครรำพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมหาราช รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ เป็นสมัยที่วรรณคดีเจริญที่สุดในสมัยนี้หลาย เรื่องได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของวรรณคดี  และทรงได้รับการเทิดพระเกียรติจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลก

แผนผังและตัวอย่างบทละคร
บัดนั้น                    ดะหมังผู้มียศถา
นับนิ้วบังคมคัลวันทา          ทูลถวายสาราพระภูมี
เมื่อนั้น                   ระตูหมันหยาเรืองศรี
รับสารมาจากเสนี                แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

เรื่องย่อ

ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง
ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ
เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง
ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหารท้าวกะหมังกุหนิงได้ ทัพฝ่ายท้าวกะหมังกุหนิงจึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป

ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและท้าวปะหมัน

เมื่อนั้น                                 ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
เสด็จเหนือแท่นรัตน์มณี                    ภูมีเห็นสองอนุชา
จึงตรัสเรียกให้นั่งร่วมอาสน์             สำราญราชหฤทัยหรรษา
แล้วปราศรัยระตูบรรดามา                ยังปรีดาผาสุกหรือทุกข์ภัย
ซึ่งเราให้มาในทั้งนี้                            จะไปตีดาหากรุงใหญ่
ระตูทุกนครอย่านอนใจ                     ช่วยเราชิงชัยให้ทันการ
ฯลฯ

ท้าดาหาเสด็จออกรับทูตกะหมังกุหนิง

                                                       เมื่อนั้น                                พระองค์ทรงพิภพดาหา
                                          ครั้นสุริย์ฉายบ่ายสามนาฬิกา           ก็โสรจรงคงคาอ่าองค์
                                          ทรงเครื่องประดับสรรพเสร็จ          แล้วเสด็จย่างเยื้องยูรหงส์
                                          ออกยังพระโรงคัลบรรจง                นั่งลงบนบัลลังก์รูจี
                                          ยาสาบังคมบรมนาถ                        เบิกทูตถือราชสารศรี
                                        จึงดำรัสตรัสสั่งไปทันที                    ให้เสนีนำแขกเมืองมา
ฯลฯ

ท้าวกุเรปันมีราชสารถึงอิเหนาและระตูหมันหยา

เมื่อนั้น                                      องค์ท้าวกุเรปันเป็นใหญ่
ครั้นดะหมังเสนาทูลลาไป                      พระตรึกไตรในคดีด้วยปรีชา
แล้วตรัสแก่กะหรัดตะปาตี                      อันสงครามครั้งนี้เห็นหนักหนา
จะเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจอนุชา                     ไม่มีที่จะปรึกษาหารือใคร
เจ้าจงยกพลขันธ์ไปบรรจบ                      สบทบทัพอิเหนาให้จงได้
ชวนกันยกรีบเร็วไป                                 อย่าทันให้ปัจจามิตรติดพารา
ฯลฯ


" บทเสภาอิเหนา  ตอน ศึกกะหมังกุหนิง "


คำนมัสการคุณานุคุณ


คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองคำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ
คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
คำนมัสการพระอาจริยคุณ : ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
ประวัติผู้แต่ง
          พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย

ลักษณะคำประพันธ์
คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
         ๓.๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
               อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
   ๓.๒ กาพย์ฉบัง ๑๖
                    กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็นกาพย์ที่นำมาแต่งคำนมัสการพระธรรมคุณและพระสังฆคุณมีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้

เนื้อเรื่อง
คำนมัสการพระพุทธคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
องค์ใดพระสัมพุทธ             สุวิสุทธะสันดาน
ตัดมูลกิเลสมาร                   บ่มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน             ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคีบ่พันพัว                         สุวคนธะกำจร
องค์ใดประกอบด้วย            พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร              มละโอฆะกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์                และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน                อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก-              ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล               ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ                 สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง                มละบาปบำเพ็ญบุญ
ลูกขอประณตน้อม              ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ-                    ยภาพนั้นนิรันดร ฯ

คำนมัสการพระธรรมคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
ธรรมะคือคุณากร                                ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์                  ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล                    เป็นแปดพึงยล
และเก้านับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร                        อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล                       นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจครอง                        ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์                        นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจาฯ 

คำนมัสการพระสังฆคุณ
กาพย์ฉบัง ๑๖
สงฆ์ใดสาวกศาสดา            รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์                       เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-
ลุทางที่อัน                                         ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร                   ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง                เหินห่างทางข้าศึกปอง
บ มิลำพอง                                        ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-                       ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล                        สมญาเอารสทศพล
มีคุณอนนต์                                       อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา-                    พกทรงคุณา-
นุคุณประดุจรำพัน                             ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์
พระไตรรัตน์อัน                                อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย                             อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ ฯ

คำนมัสการมาตาปิตุคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ข้าขอนบชนกคุณ                ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                     ผดุงจวบเจริญวัย
              ฟูมฟักทะนุถนอม               บ บำราศนิราไกล
 แสนยากเท่าไรไร               บ คิดยากลำบากกาย
              ตรากทนระคนทุกข์            ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
              ปกป้องซึ่งอันตราย             จนได้รอดเป็นกายา
              เปรียบหนักชนกคุณ           ชนนีคือภูผา
              ใหญ่พื้นพสุนธรา               ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
              เหลือที่จะแทนทด              จะสนองคุณานันต์
              แท้บูชไนยอัน                     อุดมเลิศประเสริฐคุณ

คำนมัสการอาจริยคุณ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                                                       อนึ่งข้าคำนับน้อม                               ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน                                           อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ                                       ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                                             ขยายอรรถให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา                                             และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์                               ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม                            หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์                                                ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ                                             ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                                           จิตน้อมนิยมชม